การจัดการระบบนิเวศพื้นที่ควน

พื้นที่ อ.เทพา ส่วนใหญ่มีระบบนิเวศเป็นพื้นที่ควน ควนเป็นที่ราบเนินเขาที่ไม่สูงมาก สามารถปลูกพืชได้ ทางบ้านควนหมาก ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา ก็ปลูกยางพารา ทุเรียน มังคุด ลองกอง บางที่มีแหล่งน้ำเอง มีสระน้ำ มีที่ระบายน้ำได้ดี บางพื้นที่ก็ทำสวนผสมผสาน บางที่พื้นปลูกป่าร่วมกับต้นยาง บางที่ปลูกข้าวในสวนยาง เพื่อให้เอื้อกันของธาตุอาหารในดิน รายได้หลักของ 3 พื้นที่ ควนหมาก คลองยอ โหล๊ะบอน มาจากการปลูกยางพารา

ปัญหาโดยรวม
โรคเชื้อรา ใบร่วงเป็นหย่อมๆ บางที่ปลูกยาง 1- 2 ปีก็ตายแล้วต้องปลูกยางซ่อมใหม่ ส่วนใครที่ปลูกผักก็เจอปัญหาโรคแมลง และมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ต้นพริก-แห้ง ถั่ว-คอฝักพับ มะเขือ-ยอดด้วน ต้นส้มจุก-ขั้วผลอ่อนทำให้ผลร่วง ส้มเขียวหวาน-ร่วง ฝรั่ง-แมลงเจาะผลห่อลูกก็เอาไม่อยู่ ส่วนข้าวไร่ เริ่มปลูกข้าวที่ปลอดสารตั้งแต่ ปี 2562 ปี2562 ได้ข้าวดี พอปี 2563 มีแมลงระบาด  ต่อมาปี 2564  มีแมลงระบาดมากๆ ปี 2565 นอกจากแมลงระบาดหนักแล้ว พบข้าวติดเชื้อราด้วย   ส่วนหนึ่งมาจากการตัดไม้ยาง เอาไม้ออกหมดไม่ได้เผา จึงอาจทำให้มีเชื้อและแมลงในดินระบาด

โครงการสร้างปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบเกษตรยั่งยืน (มูลนิธิเกาตรกรรมยั่งยืน)โดยโครงการจะเลือกแปลงที่จะปรับเปลี่ยนระบบเพื่อปรับตัว
1.วาดรูปแปลงปัจจุบัน/เขียนอธิบายแปลง
-สิ่งที่คิดจะปรับตัว/ปรับเปลี่ยน
-ความรู้/ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม
2.ระยะเวลาดำเนินงานโครง ก.ค. 65 – ธ.ค. 66

จากที่คุยกันเบื้องต้นวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ชุมชนต้องมี คือ
1.ตัวช่วย ได้แก่ ระบบข้อมูล
-รายได้รายจ่ายพื้นฐาน
-ปริมาณน้ำฝน
-สภาพปัญหาของ ต้นยาง สวนผลไม้ ผัก สัตว์ แมลง โรคพืช ระบบ

2.ความรู้ -เทคนิคการแก้ปัญหา
               -การพยากรอากาศ/ฝน
แนวทางระบบเกษตรกรรม อ.เทพา
1.บริหารจัดการดินทั้งแปลงให้สมบูรณ์ ทั้งสวนผสม สวนยางพารา สวนผลไม้
2.พันธุกรรมยางที่แข็งแรง
3.ปลูกพืชที่หลากหลายในแปลง
4.การบริหารจัดการน้ำผิวดิน,ในอากาศ
5.สร้างรายได้จากพื้นที่อาหาร
6.การดูแลบำรุงรักษาหน้ายางที่ตายนิ่ง
7.การจัดการแมลง
8.มีการจัดทำระบบข้อมูล/ความรู้ ในมือถือ

ภาพการทำเกษตรบนพื้นที่ควน ทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านควนหมาก,บ้านคลองยอ,บ้านโหล๊ะบอน ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา

พื้นที่บ้านควนหมาก
ปัจจุบันพออยู่พอกินไม่ได้อู่ฟู่เหมือนเมื่อก่อน จากเดิมใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า มีเกษตรกรบางรายติดสัญญารับทุนจากบริษัทขายปุ๋ย 5 จึงทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบเกษตรในแปลงตัวเองได้

ปัญหา   1.ยางใบร่วง สวนผลไม้ ผลไม่ค่อยติดลูก ไม่เป็นดอก ลูกอ่อนร่วง
              2.เดือน 3 มีผักฤดูกาลออก
              3.ปีนี้ฝนตกหนักที่สุดในรอบ 4- 5 ปี
              4.ดวงอาทิตย์ขึ้น-ตกเคลื่อนจากองศาเดิม เนื่องจากแกนโลกเอียง
              5.ปีนี้เกิดพายุบ่อยมาก
              6.สวนยางหาแรงงานนอกไม่ได้

ข้อมูลที่ต้องการตรวจเชค
1.ปริมาณน้ำฝนย้อนหลัง
2.ผักพื้นบ้าน
3.ต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร