การบริหารจัดการการแปลงเกษตรของกลุ่มนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

ประชุมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) กับ รศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกนาชะอัง ต.นาชะอัง อ.เมืองฯ จ.ชุมพร

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกนาชะอัง ต.นาชะอัง อ.เมืองฯ จ.ชุมพร

พื้นที่แทบนี้แต่เดิมเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์มาก่อนจะพัฒนาเป็นแปลงเกษตร สวนยาง สวนผลไม้ ปลูกข้าว
เนื่องจากทางกลุ่มต้องการลด้นทุนในทุกส่วนจึงได้ศึกษาการทำโรงสีข้าวขนาดเล็กและพยายามระดมทุนจนสามารถสร้างโรงสีข้าวของกลุ่มเองได้ ซึ่งเมื่อเกี่ยวข้าวจากแปลงนารวมเสร็จสมาชิกกลุ่มก็จะนำมาข้าวมาสีเป็น 2 แบบ คือ ข้าวกล้องและข้าวขาว จากนั้นก็ทำการแบ่งข้าวที่สีแล้วให้กับสมาชิกทุกคนในปริมาณเท่าๆกัน ในส่วนของแกลบก็จะเก็บไว้เป็นกองกลางสำหรับขายและนำเงินเข้ากลุ่มต่อไป สำหรับข้าวสารนั้นสมาชิกจะเก็บไว้กินส่วนหนึ่งที่เหลือก็จะขายภายในชุมชนเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง

สมาชิกทุกคนต้องสมัครใจและพร้อมสละเวลาและทุนทรัพย์ซึ่งหากสมาชิกคนใดไม่ยินยอมทางกลุ่มก็จะไม่บังคับ โดยกลุ่มนี้จะมีการลงหุ้นกันปลูกข้าว 7 คน ข้าวที่ได้มาเหลือจากกิน แล้วแบ่งกันของใครของมันหลังหักค่าใช้จ่าย  ใน 1 ปี ทางกลุ่มจะมีการแบ่ง 1 แปลงไว้สำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับทำนาในปีต่อไป ข้าวที่ปลูกคือ ดอกขาม สามเดือน เล็บนก ก. ดอกขาม นิ่ม ขายดี ทำพันธุ์ด้วย  1 รอบ /ปี ข้าวที่ได้รับความนิยมและขายดีในพื้นที่ ได้แก่ พันธุ์ดอกขามสามเดือนเพราะเมื่อหุงรับประทานจะให้สัมผัสที่นุ่ม นิ่มละมุนแต่ไม่เละ และหอมกว่าพันธุ์อื่นในท้องถิ่น บางแปลงปลูกข้าวอย่างเดียว บางแปลงที่ปลูกข้าวในสวนยาง ก็ยังมีอยู่รวมมีสมาชิก 22 ครัวเรือน  หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วทางกลุ่มมีแนวคิดที่จะปลูกพืชตระกูลถั่วในช่วงพักแปลงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารและปรับปรุงบำรุงดิน อีกทั้งยังเป็นรายได้ให้แก่สมาชิกในช่วงพักจากการทำนาได้อีกด้วย

กลุ่มจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการทำนาตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งได้ออกมาเป็นข้าวสารเมื่อได้จำนวนงบประมาณที่ต้องใช้แล้วจะนำมาหารด้วยจำนวนสมาชิกที่ยินยอมที่จะทำนารวมก็จะได้จำนวนเงินที่ทุกคนต้องลงทุน โดยการจ่ายเงินนั้นสมาชิกสามารถทยอยจ่ายให้กับกลุ่มได้ และถ้าหากเงินที่ลงทุนไม่เพียงพอทางกลุ่มก็จะเรีกประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดและขอเก็บเพิ่มหรือหักจากข้าวสารหลังเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อยแล้ว

นอกเหนือจากการลงทุนแล้วทางกลุ่มมีแนวคิดลดต้นทุนในส่วนของแรงงานที่ไม่จำเป็นโดยการนัดหมายวันหรือจัดเวรผลัดเปลี่ยนกันไปดูแลแปลงนาของกลุ่ม

ทั้งนี้โครงการนำร่องจะเข้ามาช่วยหนุนเสริมกลุ่มนี้ โดยการแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ ภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดปัญหาในแปลงเกษตรแต่ละภูมิภาคไม่เหมือนกันอย่างเช่นพื้นที่นาชะอังมีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  มีน้ำท่วม แต่ระบรายได้เร็วเพราะใกล้ทะเล แต่แปลงที่ราบลุ่ม เวลาฝนตกท่วมเลยที่เดียว มีปัญหาภัยแล้ง การทำสวนยางยางพาราเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็ตัดออกเพราะยางหมดอายุที่จะให้น้ำยาง แต่ผักพื้นบ้านก็ยังมีอยู่

จากการสัมภาษณ์เบื้องต้นทางพื้นที่อยากจะปรับตัว เรียนรู้จะปรับตัวว่าแต่และแปลงมีการปรับตัวที่แตกต่างกัน และถ้าได้ข้อสรุป ก็ลองดูว่าเทศบาลสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ทางกลุ่มคิดว่าถ้าทำเกษตรผสมผสานน่าจะช่วยได้เยอะ ไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้า ใช้วิธีตัดหญ้าคลุมดิน ส่วนปุ๋ยเคมีก็ยังใช้อยู่แต่ถ้ามีความรู้หรือสิ่งที่ทดแทนกันได้ก็พร้อมจะปรับเปลี่ยน

ทางโครงการนำร่องมีแผนจะหนุนเสริม 10 แปลง 10 ครัวเรือน แต่ต้องมีแผนในการปรับตัว ส่วนแปลงรวม วางแผนใหม่ และอีกอย่างยังไม่รู้จักพื้นที่ดี แซะร่อง ทำแห้งสลับเปียก เอาถั่วเขียวถั่วเหลือง มะพร้าว มาสลับกับการปลูกข้าว ค่าเช่าแปลงไร่ละ 1,000 บาท/ปี

แต่ผลกระทบอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีแปลงในพื้นที่ใกล้เคียงทำสวนทุเรียน และมีการฉีดพ่นสารเคมีทำให้ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบไปด้วย