เกษตรอินทรีย์กับการลดโลกร้อน
บทบาทในการลดก๊าซเรือนกระจก เกิดขึ้นโดยกลไกต่างๆดังต่อไปนี้
1.เกษตรอินทรีย์เน้นการสร้างอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวต้องมีการตรึงคาร์บอนในอากาศให้มาอยู่ในอินทรีย์สารในดิน เป็นการลดปริมาณคาร์บอนในอากาศ
2.เกษตรอินทรีย์ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ลดการการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจก
3.ไม่มีการเผาชีวมวล ทำให้ลดการปล่อยก๊าซมีเทน คาร์บอนไดร์ออกไซด์ เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรรมทั่วไปบางประเภทที่เผาชีวมวล
4.การไม่ใช้ไนโตรเจน ทำให้ไม่ต้องใช้พลังงานเพื่อการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน เป็นการลดการใช้ฟอสซิลซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของเรื่องโลกร้อน
5.การเลี้ยงสัตว์ในระบบอิทรีย์ เน้นการทำเกษตรแบบผสมผสานไม่เกิดมูลสัตว์ส่วนเกินที่ทำให้เกิดปัญหาการปล่อยแก๊สมีเทน ก๊าซไนโตรเจนไดร์ออกไซด์ และคาร์บอนไดร์ออกไซด์ ในการเลี้ยงสัตว์อย่างหนาแน่นในระบบเกษตรกรรมทั่วไป จากมูลสัตว์จำนวนมาก
6.เกษตรอินทรีย์เน้นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน จะทำให้สามารถดูดซับน้ำได้มากขึ้น ป้องกันการชะล้างหน้าดิน และทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้มากกว่า จึงสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ดีกว่า
7.การเน้นความหลากหลายทางชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้สามารถมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาการระบาดของโรคแมลง ทำให้เกิดการปรับตัวของทรัพยากรพันธุกรรมได้มากกว่าเพราะเป็นระบบที่ใกล้เคียงกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในสภาพพื้นที่ (in situ conservation)
ที่มา : หนังสือปฏิรูปเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร : บทวิเคราะห์ และปฏิบัติการทางนโยบาย ผู้เขียน วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
Leave a Reply